เมื่อวันที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๑๑ ได้มีพระราชกฤษฎีกาจัดตั้ง“คณะเภสัชศาสตร์ พญาไท มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์” ขึ้นตามนโยบายและโครงการของรัฐบาลในแผนพัฒนาการศึกษามหาวิทยาลัย พ.ศ. 2510-2514 ซึ่งต้องการเพิ่มการผลิตเภสัชกร นับเป็นคณะเภสัชศาสตร์คณะที่สองของมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ โดยมีศาสตราจารย์นายแพทย์ ชัชวาล โอสถานนท์ ซึ่งขณะนั้นเป็นอธิการบดี มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์อยู่ด้วย รักษาการคณบดี ทั้ง “คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์” ซึ่งมีที่ตั้งอยู่ภายในจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย และ“คณะเภสัชศาสตร์ พญาไท มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์” พร้อมกันไป ต่อมาวันที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2512 มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ได้รับพระมหากรุณาธิคุณ พระราชทานนาม “มหิดล” ให้เป็นชื่อมหาวิทยาลัย คณะเภสัชศาสตร์ทั้งสองจึงเปลี่ยนเป็นคณะเภสัชศาสตร์ของมหาวิทยาลัยมหิดล และในวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ.2515 “คณะเภสัชศาสตร์ พญาไท มหาวิทยาลัยมหิดล” ได้เปลี่ยนชื่ออีกครั้งหนึ่ง โดยตัด “พญาไท” ออกไป เป็น “คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล” และพร้อมกันย้ายโอน”คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล”คณะแรกไปสังกัดจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย นับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา ในขณะที่เริ่มมีการจัดตั้ง“คณะเภสัชศาสตร์ พญาไท มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์”ท่านอาจารย์ประดิษฐ์ หุตางกูร ดำรงตำแหน่งเลขานุการคณะฯ จึงเป็นบุคคลสำคัญในการดำเนินการทั้งด้านโครงการ สถานที่ บุคลากรและหลักสูตรของคณะเภสัชศาสตร์แห่งนี้ วันที่ 25 มกราคม พ.ศ.2515 อาจารย์ประดิษฐ์ หุตางกูร ได้รับแต่งตั้งให้เป็นคณบดีท่านแรกของคณะฯ และสามารถรับนักศึกษารุ่นแรกได้ใน พ.ศ. ๒๕๑๕ ในช่วงนั้น คณะฯ ได้รับงบประมาณแผ่นดินเพื่อใช้บริหารจัดการโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็นในการจัดการเรียนการสอนสำหรับนักศึกษารุ่นแรก ๆ ต่อมาท่านอาจารย์ประดิษฐ์เล็งเห็นถึงความจำเป็นในการจัดหางบประมาณเพื่อใช้ในการพัฒนาศักยภาพของคณะฯ เพิ่มเติม จึงได้ก่อตั้ง “มูลนิธิคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล Mahidol Pharmacy foundation” ใช้ชื่อย่อว่า ม.ภ.ม. ขึ้นเมื่อวันที่ ๑๘ เมษายน พ.ศ. ๒๕๒๗ โดยมุ่งหวังให้เป็นหน่วยสนับสนุนให้เกิดความคล่องตัวในการพัฒนาทั้งด้านการศึกษา การวิจัย และกิจกรรมอื่นๆ เสริมงบประมาณประจำจากรัฐบาล หรือใช้แก้ปัญหาเฉพาะหน้า โดยท่านอาจารย์ประดิษฐ์หารายได้เพื่อเป็นทุนเริ่มแรกในการขออนุญาตจดทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิจากการรับบริจาค ซึ่งส่วนใหญ่มาจากความร่วมมือของศิษย์เก่า และจากการจัดกิจกรรมต่างๆ เช่นการจัดการประชุมวิชาการ เป็นต้น ๓๕ ปี ที่ผ่านมา ม.ภ.ม. ได้สนับสนุนกิจการของคณะเภสัชศาสตร์ในด้านต่าง ๆ ตามวัตถุประสงค์มาอย่างต่อเนื่อง ทั้งการมอบทุนการศึกษาแก่นักศึกษาเภสัชศาสตร์ ทุนสนับสนุนอาจารย์และบุคลากรไปอบรม ประชุมวิชาการ เพื่อเพิ่มพูนวิชาการ และเผยแพร่ผลงาน ณ ต่างประเทศ สนับสนุนการจัดซื้อหนังสือ และตำราสำหรับห้องสมุด รวมทั้งอุปกรณ์ส่งเสริมการเรียนการสอนและงานวิจัย ม.ภ.ม. จัดการอบรมเพื่อเผยแพร่ความรู้เรื่องยาและสมุนไพรแก่ประชาชน เช่น เรื่อง “ยาและสมุนไพร : ใช้อย่างปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ” และ“ยาฆ่าเชื้อโรค (ยาแก้อักเสบ) ในโรคติดเชื้อ: ใช้อย่างถูกต้องและปลอดภัย” และจัดพิมพ์หนังสือที่มีประโยชน์แก่สังคมร่วมกับหน่วยงานอื่น เป็นต้น ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๖๓ มีปัจจับหลายอย่างกระทบระบบการเรียนการสอน ทั้งการระบาดของเชื้อโคโรน่าไวรัส โควิด ๑๙ และความก้าวหน้าของเทคโนโลยีในการสื่อสาร ม.ภ.ม. จึงเพิ่มความร่วมมือกับคณะเภสัชศาสตร์ในการจัดระบบการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพดี ซึ่งจะส่งผลให้นักศึกษาของคณะฯ มีความพร้อมในการออกไปรับใช้สังคมไทยในยุค New normal ได้อย่างมั่นใจ โดยสนับสนุนการจัดหาหนังสือโดยเฉพาะอย่างยิ่งหนังสืออิเล็กโตรนิกเพิ่มขึ้น จัดซื้ออุปกรณ์ที่จำเป็นในกระบวนการสอน online และ on-site และจะสนับสนุนการจัดทำสื่อการสอนอิเล็กโตรนิก เป็นต้น อย่างไรก็ตาม รายได้ของ ม.ภ.ม. ส่วนใหญ่มาจากการรับบริจาค และดอกเบี้ยซึ่งมีไม่มากนัก และนำใช้ไปตามวัตถุประสงค์หลัก คือส่งเสริมและสนับสนุนการศึกษาและการวิจัยของคณะเภสัชศาสตร์ และบริจาคให้องค์กรการกุศลอื่น ๆ บ้างเล็กน้อย ทำให้ไม่เข้าหลักเกณฑ์ของกระทรวงการคลังที่จะเป็น “องค์การสถานสาธารณกุศล” เหตุผลนี้จึงเป็นข้อจำกัดที่ทำให้ผู้บริจาคเงินสนับสนุนไม่สามารถนำจำนวนเงินบริจาคไปใช้หักภาษีเงินได้ “มูลนิธิคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล” เป็นศูนย์กลางในการรับบริจาคเพื่อนำไปสนับสนุนงานตามวัตถุประสงค์ของผู้บริจาค หรือตามความต้องการของคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ความร่วมมือร่วมใจของผู้มีจิตศรัทธาและศิษย์เก่าทุกท่าน จะช่วยจรรโลงและเสริมความมั่นคงทางการศึกษาให้คณะเภสัชศาสตร์ สร้างขวัญกำลังใจให้อาจารย์รุ่นใหม่ สร้างบัณฑิตที่มีความพร้อม รับมือกับปัญหาทุกด้าน และมีศักยภาพเต็มเปี่ยมในการช่วยสังคมและสุขภาพที่ดีของประชาชน วัตถุประสงค์ของมูลนิธิ ๑. ส่งเสริมและสนับสนุนการศึกษาและการวิจัย ด้านเภสัชศาสตร์ การแพทย์ และการสาธารณสุข ๒. เผยแพร่ผลงานทางวิชาการ เพื่อประโยชน์ด้านสาธารณสุขและสุขภาพแก่ประชาชน ๓. ร่วมมือกับองค์กรหรือองค์กรสาธารณกุศล เพื่อประโยชน์ส่วนรวม ๔. ไม่ดำเนินการเกี่ยวข้องกับการเมืองแต่ประการใด
โครงการทุนการศึกษามูลนิธิEDF เริ่มดำเนินงานตั้งแต่ปีพ.ศ. 2531 โดยมุงหวังที่จะต่ออายุทางการศึกษาให้แก่เด็กและเยาวชนด้อยโอกาสในประเทศไทย เพื่อให้พวกเขาได้มีโอกาสพัฒนาศักยภาพของตนเอง ไม่ต้องออกจากโรงเรียนกลางคัน เพียงเพราะข้อจำกัดของความยากจน หรือความด้อยโอกาสต่างๆ จวบจนถึงปัจจุบันเป็นระยะเวลากว่า 33 ปีที่ มูลนิธิEDF ได้ทำหน้าที่เป็น "สะพานน้ำใจ" ในการส่งต่อความช่วยเหลือด้านการศึกษาจากผู้บริจาค ไปยังเด็กและเยาวชนที่ขาดแคลนและด้อยโอกาสได้เป็นจำนวนมากถึง 390,473 คน ใน 5,600 โรงเรียน ครอบคลุมพื้นที่ 61 จังหวัดทั่วทุกภูมิภาคของประเทศไทย (ตัวเลขตั้งแต่ปีการศึกษา 2531-2563) สำหรับความคืบหน้าของโครงการทุนการศึกษามูลนิธิEDF ในปี 2564 นี้ ตั้งแต่ต้นเดือนมกราคม 2564 เป็นต้นมามูลนิธิ EDF ได้เปิดรับสมัครเด็กนักเรียนที่ขาดแคลนและด้อยโอกาสจากโรงเรียนต่างๆทั่วประเทศ ที่มีความประสงค์ขอรับทุนการศึกษาเพื่อเรียนต่อในปีการศึกษา 2564 ที่กำลังจะมาถึงนี้ โดยมีเด็กๆที่มีผ่านการคัดเลือกเพื่อรอรับทุนในทุกโครงการ รวมจำนวนทั้งสิ้น 10,110 คนจากกว่า 1,500 โรงเรียนครับ ในอีกทางหนึ่ง มูลนิธิEDF ได้ทำการประชาสัมพันธ์เพื่อระดมทุนการศึกษามาอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2563 จนถึงล่าสุด (2 กุมภาพันธ์ 2564) โดยสามารถระดมทุนการศึกษาจากการร่วมบริจาคของผู้บริจาคและผู้มีจิตเมมตตาได้เป็นจำนวนทั้งสิ้น 4,548 ทุนครับ แบ่งเป็นทุนเด็กนักเรียนยากจนในระดับม.ต้น 4,275 ทุน ทุนเด็กนักเรียนเรียนดีแต่ยากจนในระดับม.ปลาย 152 ทุน ทุนเด็กนักเรียนพิการเรียนร่วมในโรงเรียนปกติ 63 ทุน ทุนเด็กนักเรียนกำพร้าใน3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ 35 ทุน และทุนระดับอุดมศึกษาอีก 23 ทน ครับ ส่งผลให้มีเด็กนักเรียนที่ยังคงต้องการการสนับสนุนทุนการศึกษาเพิ่มเติมในปีนี้ อีกจำนวน 5,562 คนครับ ผมจึงขอนำเสนอเรื่องราวของเด็กๆ 2 คน ที่ผ่านการคัดเลือกเพื่อรอรับทุนการศึกษาในปีนี้ คือ ด.ช.จักรพงษ์ หรือน้องมาร์ช อายุ 12ปี จากจ.กาฬสินธุ์ ที่ถูกทอดทิ้งให้อยู่กับปู่ย่าที่แก่ชรา และต้องไปชกมวยเด็กตามงานวัดเพื่อช่วยหาเงินจุนเจือครอบครัว และ ด.ช.ขวัญชัย วัย 12 ปี จากจ.นครพนม ที่อาศัยอยู่กับครอบครัวที่ยากจนในบ้านที่ทรุดโทรม ไม่มีแม้แต่ไฟฟ้าใช้ มีรายได้หลักจากการรับจ้างทั่วไป เช่นเลี้ยงโคกระบือ เพื่อแลกกับค่าจ้างรายวันเพื่อประทังชีวิต
สินค้า คือ วัสดุ อุปกรณ์ สิ่งของเครื่องใช้ ฯลฯ ที่จับต้องได้ สามารถขนส่งหรือเคลื่อนย้ายไปมาได้ โดยสามารถนำเอาไปเป็นกรรมสิทธิ์ได้ ในอดีตจะใช้การแลกเปลี่ยนกัน ส่วนปัจจุบันจะเป็นการใช้เงินตราแลกเปลี่ยนกัน ประเภทของสินค้า สินค้าแบบถาวร คือ ใช้แล้วไม่หมดไป เช่น สินค้าอุตสาหกรรม เครื่องปรับอากาศ รถยนต์ เป็นต้น สินค้าแบบไม่ถาวร คือ ใช้แล้วหมดไป เช่น สินค้าอุปโภค สินค้าบริโภค แป้ง น้ำหอม ผงซักฟอก เป็นต้น
NULLสมนาคุณ (สมมะนาคุน) ก. ตอบแทนบุญคุณด้วยทรัพย์ สิ่งของ หรือแรงงาน เป็นต้นแล้วแต่กรณี เช่น ร้านค้ามีของสมนาคุณผู้ซื้อ ธนาคารให้ของสมนาคุณแก่ลูกค้า, เรียกทรัพย์หรือสิ่งของเป็นต้นที่ให้ในลักษณะเช่นนั้น ว่า เงินสมนาคุณ ของสมนาคุณ.
ข่าวประชาสัมพันธ์
2 กุมภาพันธ์ 2565
   
   
yyyyyb
9 มิถุนายน 2564
   
   
โปรแกรม Adobe Photoshop และ Illustrator CC เป็นโปรแกรมที่มีประสิทธิภาพสูง ใช้เพื่อการออกแบบสื่อประเภทต่างๆ ได้หลากหลาย ตอบสนองการใช้งานในทุกวัตถุประสงค์ ดังนั้นการที่บุคลากรมีความสามารถใช้งาน 2 โปรแกรมนี้ จะช่วยให้มีทักษะการออกแบบมีความสวยงาม ตรงประเด็น ดึงดูดลูกค้า สร้างความสนใจ สามารถสร้าง Visibility ได้อย่างดี โดยผลงานสามารถใช้เผยแพร่ได้ทั้งระบบ Offline และ Online โดยเฉพาะอย่างยิ่งสื่อ Social Media ที่เป็นหลักในการรับข่าวสารและข้อมูลที่สนใจของผู้คนในปัจจุบัน และเพื่อให้การสื่อสารผ่านสื่อได้มีประสิทธิภาพ คณะฯ จึงจัดอบรมเชิงปฏิบัติการ Graphic Design for Social Media with Photoshop & Illustrator CC ระยะเวลา 2 วัน จัดอบรม 2 โปรแกรม โดยมีการปฏิบัติ 4 Workshops และให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ มากกว่า 30 เทคนิคพิเศษเพื่อสามารถสร้างผลงานของตนเอง ตามแนวทาง Graphic Design Trend
8 มิถุนายน 2564
   
   
จากกรณีที่มีการเผยแพร่ข้อมูบในสื่อสังคมออนไลน์ เมื่อวันที่ 6 มิถุนายน พ.ส. 2564 โดยมีการนำรูปภาพของกลุ่มยาลดการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์
ดูข่าวสารเพิ่มเติม >
บทความจากเรา
cccc
v1.1.5